Resilient Pharmacist – เภสัชกรเปลี่ยน ปรับ เปิดรับ เติบโต

บทความล่าสุด


PV – Pharmacovigilance เภสัชในบริษัทยา ผู้จัดการ data ความปลอดภัย (จากการใช้ยา)

มองย้อนกลับไปขณะยังเป็นนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ว่าที่เภสัชกรตัวน้อยถูกสอนให้เห็นความสำคัญของอาการข้างเคียงจากยา (side effect or adverse drug reaction; ADR) เนื่องจากเป็นสิ่งที่เภสัชกรจำเป็นต้องทราบและสามารถอธิบายได้ว่า side effect ที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหรือกลไกของยาอย่างไร เภสัชจะได้ให้คำแนะนำในการจัดการผลข้างเคียงนั้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม นิสิตนักศึกษาถูกสอนว่า ADR แบ่งเป็นสองประเภทหลัก ได้แก่ ADR Type A คือ ADR ที่สามารถอธิบายได้ด้วยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ในขณะที่ ADR Type B คือ ADR ที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา แต่มีข้อสันนิษฐานหรือทฤษฎีจากผู้เชี่ยวชาญมารองรับการอธิบายในเบื้องต้น  ในที่นี้จึงอยากพาทุกคนย้อนกลับในอดีตในช่วงที่เรียนเกี่ยวกับ ADR จะมีคำสองคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน คือ “Adverse event” และ “Adverse Drug reaction” ซึ่งถ้าเราดูตามนิยามที่ระบุไว้ในประกาศของคณะกรรมการอาหารและยา ฉบับวันที่ 18 ธันวาคม 2558 เรื่อง แนวทางสำหรับผู้รับอนุญาตในการรายงานความปลอดภัยของยาที่ใช้ในมนุษย์ ยาเสพติด และวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่ใช้ทางการแพทย์ภายหลังออกสู่ตลาด ว่า เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (Adverse […]

เส้นทางนักเรียนทุนรัฐบาล ปริญญาเอก Biological System Engineering สหรัฐอเมริกา

กว่าจะได้เป็นนักเรียนระดับปริญญาเอกในสหรัฐอเมริกานั้นไม่ง่ายเลย เพราะต้องผ่านขั้นตอนหลายด่าน ภญ.ภัทรสุดา ไชยสุภา นักเรียนทุนรัฐบาล กำลังศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชา Biological System Engineering School of Engineering ณ มหาวิทยาลัย Virginia Polytechnic Institute and State University หรือ Virginia Tech ประเทศสหรัฐอเมริกา มาบอกเล่าขั้นตอนการเตรียมตัว บรรยากาศการเรียน และสาขาวิชา มีประเด็นที่น่าสนใจไปติดตาม

5 เรื่องที่น่ารู้ของทุนให้เปล่าเรียนต่อในยุโรป

Erasmus Mundus Joint Master Degree – EMJMD เป็นหลักสูตรปริญญาโทที่ได้รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาระดับสูงของยุโรป อย่างน้อย 2 มหาวิทยาลัย โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ภายใต้ชื่อ ERASMUS+ รับสมัครในช่วง ต.ค. – ธ.ค. ของแต่ละปี มีการสนับสนุนทุนในหลายรูปแบบ ได้แก่ ทุนเต็มจำนวนพร้อมค่าครองชีพ ทุนเฉพาะค่าเล่าเรียน ทุนการศึกษาบางส่วน

5 ขั้นตอน พัฒนาตัวเองในแบบที่เป็นตัวเราด้วย Personal OKRs

“ชีวิตช่วงนี้น่าเบื่อ เหี่ยวเฉา ไร้เป้าหมายมาก ๆ” “ทำงานเดิม ๆ ซ้ำ ๆ น่าเบื่อสุดๆ” “ทำไมเค้าประสบความสำเร็จ แล้วเราล่ะจะทำได้ไหม?” ช่วงล็อกดาวน์จากการระบาดของ COVID-19 แบบนี้เชื่อว่าหลายคนเริ่มประสบปัญหาความเฉาในชีวิต เพราะขาดเป้าหมายในการดำเนินชีวิต หรือหลายๆคนได้ลองกำหนดเป้าหมาย แต่พยายามอย่างไรก็ทำไม่สำเร็จสักที “ล๊อกดาวน์นี้ จะต้องลดน้ำหนักให้ได้ 10 กิโลกรัม จะวิ่งทุกวันเลย” “จะเรียนออนไลน์ให้ได้อย่างน้อย 1 คอร์สต่อสัปดาห์” ช่วงนี้มักได้ยินประโยคนี้จากคนรอบข้างใช่มั้ยคะ เรื่องใกล้ตัวแบบนี้ เหมือนจะทำได้ง่าย แต่เมื่อเวลาผ่านไป จากการวิ่งทุกวัน เริ่มกลายเป็นวันเว้นวัน สามวันต่อสัปดาห์ หนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ สุดท้าย เป้าหมายที่ตั้งไว้หายไปทุกที… ป่านเชื่อว่า ทุกคนก็เช่นกันใช่มั้ยคะ? ทุกคนย่อมมีเป้าหมาย มีตัวตนที่เราอยากเป็นและมีสิ่งที่อยากทำให้สำเร็จ ดังนั้น เราจะทำอย่างไรให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ทำไมเราต้องตั้งเป้าหมาย? หลายคนมีคำถามว่า การตั้งเป้าหมายและการติดตามผลแบบนี้จะทำให้ชีวิตเครียดเกิดไป ตึงเกินไปรึเปล่า ดังนั้น ป่านขออนุญาตยกคำพูดอาจารย์นภดลในหนังสือ “Personal OKRs ชีวิตจะสำเร็จตามเป้าหมาย ถ้าวัดผลได้อย่างเป็นระบบ” ว่า “ผมว่าการตั้งเป้าหมายในชีวิตไม่ใช่ความเครียดเลยครับ กลับกัน เป้าหมายเหล่านี้จะมีส่วนช่วยอยากให้เราลุกขึ้นมาทำสิ่งต่าง […]


Self-care | Lifestyle
ดูแลจิตใจ งานอดิเรก

More


Programs